เป็นสินเชื่อระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ธุรกิจ เช่น นำมาจ่ายเงินเดือนพนักงาน ค่าวัตถุดิบ ซึ่งส่วนใหญ่มักยื่นขอวงเงินไปพร้อมกับการยื่นขอสินเชื่อแบบมีระยะเวลาที่ชัดเจน แล้วค่อยเบิกเงินเมื่อต้องการใช้ ผู้ให้สินเชื่อมักกำหนดเงื่อนไขการชำระสินเชื่อประเภทนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ที่เข้ามา เช่น เมื่อได้รับเงินจากการขายสินค้าและบริการให้นำมาชำระคืนก่อน แล้วค่อยเบิกไปใช้ใหม่เมื่อต้องการ หมุนเวียนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องยื่นขออนุมัติวงเงินใหม่ ยกเว้นมีความจำเป็นทางธุรกิจอยากขอวงเงินเพิ่ม หรือผู้ให้สินเชื่อต้องการลดวงเงินเนื่องจากเห็นว่าลูกหนี้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ปัจจุบันสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย คือ วงเงินเบิกเกินบัญชี (Overdraft หรือ O/D) ซึ่งทำผ่านบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และส่วนใหญ่ใช้เช็คในการเบิกจ่ายเงิน การมีวงเงิน O/D ทำให้สามารถเบิกเงินได้มากกว่าจำนวนเงินที่ฝากไว้ในบัญชีกระแสรายวัน แต่ไม่เกินวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากสถาบันการเงิน ซึ่งจะคิดดอกเบี้ยเฉพาะจำนวนเงินที่เบิกเกินกว่าจำนวนเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชี รู้ไว้…ให้ฉุกคิด อัตราดอกเบี้ย O/D จะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อแบบมีระยะเวลาที่ชัดเจนเนื่องจากเป็นสินเชื่อไม่จำกัดวัตถุประสงค์ มีความไม่แน่นอนในการเบิกถอน ทำให้สถาบันการเงินต้องเตรียมสำรองเงินไว้ การคิดดอกเบี้ย จะคิดจากยอดคงค้างของเงินส่วนที่เบิกเกินกว่าเงินฝากทุกสิ้นวัน และสถาบันการเงินจะจัดทำใบแจ้งยอดรายการโดยแจ้งดอกเบี้ยที่เกิดจากการใช้วงเงินด้วย ซึ่งอาจเป็นทุกวันสิ้นเดือน หรือวันอื่นๆ ตามที่สถาบันการเงินกำหนด ซึ่งหากเราไม่นำเงินมาฝากให้เพียงพอกับดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น ดอกเบี้ยจะถูกทบเข้ากับยอดเงินที่ค้างชำระ หรือที่เรียกว่าดอกเบี้ยทบต้น และสามารถนำมาคิดดอกเบี้ยได้ในเดือนต่อไป แม้ผู้ประกอบการสามารถขอสินเชื่อได้มากกว่า 1 ประเภท แต่ก็ต้องไม่ลืมด้วยว่า ควรขอสินเชื่อเท่าที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจจริงๆ เท่านั้น และควรศึกษารายละเอียดของสัญญาให้ถี่ถ้วน โดยเฉพาะเงื่อนไขการผ่อน การคิดดอกเบี้ย ค่าใช้จ่าย และค่าปรับต่างๆ รวมถึงเงื่อนไขอื่นด้วย […]